สับปะรด
สับปะรด | |
---|---|
สับปะรดเป็นพืชที่นิยมปลูกทั่วประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
หมวด: | พืชดอก (Magnoliophyta) |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Liliopsida) |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Poales |
วงศ์: | Bromeliaceae |
วงศ์ย่อย: | Bromelioideae |
สกุล: | Ananas |
สปีชีส์: | A. comosus |
ชื่อทวินาม | |
Ananas comosus (L.) Merr. | |
ชื่อพ้อง | |
Ananas sativus |
สับปะรด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80–100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล
เป็นผลไม้เขตร้อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสามของโลก โดยรัฐฮาวายเป็นแหล่งเพาะปลูกสับปะรดที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 2016 คอสตาริกา, บราซิล และฟิลิปปินส์มีสัดส่วนการผลิตสับปะรดเกือบ 1 ใน 3 ของโลก[1]
แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไป เช่น[2]
- ภาคกลาง เรียกว่า "สับปะรดแจน"
- ภาคอีสาน เรียกว่า "บักนัด"
- ภาคเหนือ เรียกว่า "บะนัด, บะจะแจนนัด, บ่อนัด"
- ภาคใต้ เรียกว่า ", สัปรด,ย่านัด, หย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง, มะลิ" (โดย ย่านัด หรือ หย่านัด มีที่มาจากภาษาโปรตุเกส: Ananás)[3]
ลักษณะของสับปะรด
[แก้]รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90–100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้นจะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือพวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือเรียกว่าไม้ดิน, พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับ, และพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้ด้วย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
[แก้]สับปะรดต้องการอากาศค่อนข้างร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9–29.4 ℃ ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000–1,500 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องตกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง
สับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน, ดินร่วนปนทราย, ดินปนลูกรัง, ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5–5.5 แต่ไม่เกิน 6.0
ฤดูกาลของสับปะรด
[แก้]- ช่วงเก็บเกี่ยวในฤดู ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม และกลางเดือนเมษายน – กรกฎาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตมาก ในตลาดมีราคาถูก
- ช่วงเก็บเกี่ยวนอกฤดู ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม – ตุลาคม สับปะรดจะให้ผลผลิตน้อยจึงราคาแพง
แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย
[แก้]เนื่องจากความทนทาน ทำให้ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทยอยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเล ได้แก่
|
|
พันธุ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย
[แก้]- พันธุ์ปัตตาเวีย (Smooth Cayenne) หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา นิยมปลูกทั่วไป ผลใหญ่ ฉ่ำน้ำ เนื้อสีเหลืองอ่อน
- พันธุ์อินทรชิต (Singapore Spanish) เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
- พันธุ์ขาว (Selangor Green) ลักษณะคือด้านบนมีหลายจุก ใบสั้นแคบและชิดกันมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เนื้อสับปะรดมีรสชาติหวานไม่มาก
- พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี (Mauritius Pine, Ceylon, Malacca Queen) นิยมปลูกทางภาคใต้ ใบมีแถบสีแดงที่ตอนกลางใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน ผลเล็กเปลือกหนาเนื้อสีเหลืองเข้ม หวานกรอบ
- พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง นิยมปลูกในจังหวัดเชียงราย ผลกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม รสหวานจัด
- พันธุ์ตราดสีทอง จุดสังเกตของพันธุ์นี้คือลักษณะของผลที่มีสีเหลืองคล้ายสีทองสวยงามน่ากิน รสชาติมีความหวานกรอบตลอดทั้งผล
- พันธุ์ภูแล ลักษณะเด่นคือผลมีขนาดเล็กและสามารถทานได้ทั้งผล
- พันธุ์ห้วยมุ่น
- พันธุ์เพชรบุรี ผลย่อยติดกันไม่แน่น แกะออกมารับประทานได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก แกนผลรับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว [4]
สรรพคุณ
[แก้]คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 202 กิโลจูล (48 กิโลแคลอรี) |
12.63 g | |
น้ำตาล | 9.26 g |
ใยอาหาร | 1.4 g |
0.12 g | |
0.54 g | |
วิตามิน | |
ไทอามีน (บี1) | (7%) 0.079 มก. |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (3%) 0.031 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (3%) 0.489 มก. |
(4%) 0.205 มก. | |
วิตามินบี6 | (8%) 0.110 มก. |
โฟเลต (บี9) | (4%) 15 μg |
วิตามินซี | (44%) 36.2 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 13 มก. |
เหล็ก | (2%) 0.28 มก. |
แมกนีเซียม | (3%) 12 มก. |
ฟอสฟอรัส | (1%) 8 มก. |
โพแทสเซียม | (2%) 115 มก. |
สังกะสี | (1%) 0.10 มก. |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
สรรพคุณทางสารเคมี
[แก้]มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีเลน (bromelain) ช่วยการย่อยในระบบทางเดินอาหาร มีเกลือแร่, วิตามินซีจำนวนมาก และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ และนำไปใช้ในการผลิตเบียร์เพื่อป้องกันการตกตะกอนทำให้เบียร์ไม่ขุ่น[5]
สรรพคุณทางสมุนไพร
[แก้]- ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ
- แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก
- บรรเทาอาการโรคบิด
- ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
- แก้ท้องผูก
- เป็นยาแก้โรคนิ่ว
- แก้ส้นเท้าแตก
- ส่วนของรากสับปะรด นำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้[6]
- ช่วยในการฆ่าตัวอ่อนของหนอนแมลงวันได้นะค่ะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pineapple production in 2016, Crops/Regions/World list/Production Quantity (pick lists)". UN Food and Agriculture Organization, Corporate Statistical Database (FAOSTAT). 2017. สืบค้นเมื่อ 23 February 2018.
- ↑ "สับปะรด". tungsong.com.
- ↑ "คิดต่างระหว่างบรรทัด 29 10 58". ฟ้าวันใหม่. 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
- ↑ สับปะรด” สุดยอดผลไม้ ที่ให้ประโยชน์ทั้งแง่เศรษฐกิจและสุขภาพ สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ↑ "รายงานการศึกษาดูงาน ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สัปปะรด" (PDF). สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016.
- ↑ "สับปะรด สรรพคุณและประโยชน์ของสับปะรด 32 ข้อ !". greenerald.com.